มวยไทยในแต่ละยุคสมัย Ep4

มวยไทยในแต่ละยุคสมัย Ep4

ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
มวยไทยก็มีการฝึกฝนกันตาม สํานักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวางจนถึงสมัยกรุงเทพฯ ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวที สวนเจ้าเชษฐ์และเวทีสวนกุหลาบ

ซึ่งการชกในสมัยนี้ก็ยังมีการ คาดเชือกกันอยู่จนในตอนหลังนวมได้เข้ามาแพร่หลายในไทย การชกกันในสมัยหลัง ๆ จึงได้สวมนวมชกกัน แต่การชกก็ยัง เหมือนเดิม คือยังใช้การถีบ เตะ ชก ศอก เข่า อยู่เช่นเดิม ดังที่ เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้

หลักเกณฑ์ในการจัดการแข่งขัน และกรรมการผู้ชี้ขาด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้นไปหาหลักฐานไม่ได้ แต่พอจะจับเค้าโครง เรื่องนี้ได้ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การแข่งขันชกมวยในสมัย ต่าง ๆ ซึ่งนับว่าครึกโครมและมีผู้นิยมชมชอบมาก ซึ่งพอจะแยก กล่าวได้มีอยู่ 5 สมัยด้วยกันคือ

1. สมัยสวนกุหลาบ ในสมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวยและชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจํานวนมาก การชกมวยกันใน สมัยนี้ยังนิยมการคาดเชือกอยู่

การชกได้กําหนดจํานวนยกไว้แน่นอนแล้ว และมีกรรมการผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสินส่วนมากนั่งอยู่ข้างเวที และให้อาณัติสัญญาณให้นักมวยหยุดชกด้วยเสียงหรือนกหวีด

2. สมัยท่าช้าง ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ จาก คาดเชือกมาเป็นสวมนวม (พ.ศ. 2462) ได้จัดการแข่งขันขึ้นเป็น ระยะเวลาพอสมควร สนามก็เลิกไป กรรมการผู้ชี้ขาดในสมัยนี้นับว่ามีชื่อเสียงก็คือ นายทิม อติเปรมานนท์ และนายนิยม ทองซิตร์

3. สมัยสวนสนุก การจัดการแข่งขันในสมัยนี้ รู้สึกว่า เจ้าของสนามได้จัดการแข่งขันและได้จัดการแข่งขันอยู่เป็นเวลา หลายปี ทําให้นักมวยไทยมีชื่อเสียงขึ้นหลายคน เช่น นายสมาน ดิลกวิลาส นายสมพงษ์ เวชสิทธิ์ เป็นต้น กรรมการที่ชี้ขาดการตัดสินในขณะนั้นและนับว่ามีชื่อเสียงควรกล่าวคือ หลวงพิพัฒน์ พลกาย นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) และนายนิยม ทองชิตร์

4. สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์ การแข่งขันชกมวย ในสมัยนี้นับว่าเข้มแข็งดีมาก เพราะทางราชการทหารได้เข้าจัดการ เพื่อเก็บเงินบํารุงราชการทหาร คณะกรรมการและนักมวย ได้ร่วม มือกันเป็นอย่างดu จนเก็บเงินส่งบํารุงราชการทหารได้เป็นจํานวนมากสมความประสงค์ของราชการทหาร

ตลอดจนทําให้นักมวยที่ มีชื่อเสียงเกิดขึ้นอีกหลายคน เช่น ผล พระประแดง เพิก สิงห์พัลลภ ถวัลย์ วงศ์เทเวศน์ ประเสริฐ ส.ส. และทองใบ ยนตรกิจ ได้จัด การแข่งขันอยู่เป็นเวลาหลายปี จึงได้เลิกการแข่งขัน เมื่อใกล้ ๆ สงครามโลกครั้งที่ 2 กรรมการผู้ชี้ขาดได้ทําการตัดสินอยู่เป็น ประจําตลอดนั้น มีอยู่ 3 คนด้วยกันคือ นายสังเวียน หิรัญยเลขา นายเจือ จักษุรักษ์ และนายวงศ์ หิรัญยเลขา

#มวยไทย #มวยไทยในแต่ละยุคสมัย #gclubจีคลับมือถือ

fever

fever

Leave a Replay